ข้อควรคำนึงในการใช้สำนวนไทย ได้แก่
1. ควรใช้ให้ถูกต้องตรงตามความหมาย นั่นคือ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้และเข้าใจความหมายของสำนวนอย่างถ่องแท้ จึงจะใช้สำนวนได้ถูกต้องตามความหมาย เพราะมีสำนวนที่มีคำใช้คล้ายกันแต่มีความหมายต่างกัน จึงใช้แทนกันไม่ได้ แต่ก็มีบางสำนวนที่มี ความหมายเหมือนกัน คล้ายคลึงกันอาจใช้แทนกันได้ แต่บางสำนวนแม้จะ มีความหมายเหมือนกันก็ไม่อาจจะใช้แทนกันได้ ทุกสถานการณ์ ดังตัวอย่างสำนวนต่อไปนี้
สำนวน
|
สำนวน
|
สำนวน
|
สำนวน
|
คาบลูกคาบดอก
|
ลูกผีลูกคน
|
|
|
ผีกับโลง
|
กิ่งทองใบหยก
|
|
|
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
|
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
|
|
|
คางคกขึ้นวอ
|
แมงปอใส่ตุ้งติ้ง
|
กิ้งก่าได้ทอง
|
|
หมูในเล้า
|
หมูในอวย
|
หญ้าปากคอก
|
|
เกลือเป็นหนอน
|
หนอนบ่อนไส้
|
ไส้เป็นหนอน
|
|
ปัดแข้งปัดขา
|
ถีบหัวส่ง
|
เหยียบจมธรณี
|
|
ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
|
ปากว่าตาขยิบ
|
ปากอย่างใจอย่าง
|
|
นกสองหัว
|
จับปลาสองมือ
|
เหยียบเรือสองแคม
|
|
ไก่ได้พลอย
|
ตาบอดได้แว่น
|
วานรได้แก้ว
|
หัวล้านได้หวี
|
เอามือซุกหีบ
|
เอาไม้สั้นไปรันขี้
|
เอาไม้ซักไปงัดไม้ซุง
|
ว่ายน้ำหาจนระเข้
|
2.ไม่เขียนสำนวนผิดหรือใช้ต่างไปจากสำนวนที่มีใช้อยู่โดยทั่วไปเพราะจะสื่อความหมายไม่ได้ ดังจุดประสงค์ เช่น
สำนวน
|
สำนวนที่ต่างไป
|
กงเกวียนกำเกวียน
|
กงกำกงเกวียน
|
ขายผ้าเอาหน้ารอด
|
แก้ผ้าเอาหน้ารอด
|
ขนมพอสมน้ำยา
|
ขนมผสมน้ำยา
|
คงเส้นคงวา
|
คงวัดคงวา
|
คาหนังคาเขา
|
คาหลังคาเขา
|
งูเงี้ยวเขี้ยวขอ
|
งูเงี้ยวเขี้ยวหงอน
|
แจงสี่เบี้ย
|
ชี้แจงสี่เบี้ย
|
นกไร้รังโหด
|
นกร้ายรังโหด
|
ต้นกุฏิ
|
ก้นกุฏิ
|
ติเรือทั้งโกลน
|
ติเรือทั้งโคลน
|
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
|
ละลายน้ำพริกกับแม่น้ำ
|
ตกกระไดพลอยโจน
|
ตกกระไดพลอยโจร ตกกระไดพลอยกระโจน
|
ปลาติดหลังแห
|
ปลาติดร่างแห
|
ปรักหักพัง
|
สลักหักพัง
|
ผีซ้ำด้ำพลอย
|
ผีซ้ำด้ามพลอย
|
ผิดเต็มประตู
|
ผิดเต็มประตูเต็มหน้าต่าง
|
ทำนาบนหลังคน
|
ทำนาบนหัวคน
|
ฤกษ์พานาที
|
ฤกษ์พานาที
|
ไม่มีปี่มีขลุ่ย
|
ไม่มีขลุ่ยไม่มีกลอง
|
ไม่ได้เห็นเดือนเห็นตะวัน
|
ไม่ได้พบเดือนพบตะวัน
|
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
|
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามสาว
|
รู้ธาตุแท้ รู้เช่นเห็นชาติ
|
รู้เช่นเห็นธาตุ
|
ศึกเสือเหนือใต้
|
ศึกเหนือเสือใต้
|
สู้จนเย็บตา
|
สู้จนยิบตา
|
หัวมังกุด ท้ายมังกร
|
หัวมังกุฎ ท้ายมังกร
|
หลงจนหัวปักหัวปำ
|
หลงจนหัวทิ่มหัวตำ
|
เอาใจออกหาก
|
เอาใจออกห่าง
|
3. ใช้สำนวนให้ถูกต้องตามสถานการณ์ สอดคล้องกับกาลเทศะและบุคคลและใช้ให้พอเหมาะ ไม่ฟุ่มเฟือย จนไม่อาจสื่อสารได้ดังต้องการ ดังนั้นควรคำนึงถึงโอกาสและความเหมาะสมเป็นสำคัญ เช่น
ตัวอย่างสำนวนไทย
|
|||
สำนวน
|
ความหมาย
|
สำนวน
|
ความหมาย
|
ก้มหน้า
|
ก.จำทน เช่น
ต้องก้มหน้า ทำตามประสายาก |
กระดี่ได้น้ำ
|
น.ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการ ดีอกดีใจ
ตื่นเต้นจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ
|
กำเริบเสิบสาน
|
ก ได้ใจ, เหิมใจ
|
ก่อร่างสร้างตัว
|
ก.ตั้งเนื้อตั้งตัวได้
เป็นหลักฐาน |
กิ่งทองใบหยก
|
ว.เหมาะสมกัน (ใช้แก่หญิง กับชายที่จะ
แต่งงานกัน)
|
กินตามน้ำ
|
ก.รับของสมนาคุณที่เขา
เอามาให้ โดยไม่ได้ เรียกร้อง (มักใช้แก่เจ้าหน้าที่ พนักงาน ผู้มีอำนาจ) |
กินน้ำใต้ศอก
|
ก.จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า,
(มักหมายถึงเมียน้อย
ที่ต้องยอมลงให้แก่ เมียหลวง) |
กินอยู่กับปาก
อยากอยู่กับท้อง |
ก.รู้ดีอยู่แล้วแสร้งทำเป็นไม่รู้
|
แกะดำ
|
น.คนที่ทำอะไรผิดเพื่อนผิดฝูง
ในกลุ่มนั้น ๆ (ใช้ในทางไม่ดี) |
ไก่รองบ่อน
|
น.ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น